วันที่ 21-23 มิถุนายน 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนบน ปฏิบัติงานภาคสนามเพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล และแพลงก์ตอนพืช บริเวณชายฝั่งรอบเกาะภูเก็ต จำนวน 28 สถานี โดยดำเนินการสำรวจ และเก็บตัวอย่างน้ำมันดิน (Tar ball) รวมทั้งสิ้น 7 สถานี ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำพื้นฐาน มีค่าดังนี้ อุณหภูมิน้ำ 29.9-32.6 องศาเซลเซียส ความเค็ม 27-33 พีพีที ค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 7.85-8.21 และปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ 5.80-10.32 มิลลิกรัมต่อลิตร สภาพอากาศทั่วไป อากาศร้อนอบอ้าว คลื่นลมแรง และมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ซึ่งจากการสำรวจไม่พบก้อนน้ำมันดิน และปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี แต่จากการสังเกตด้วยตาเปล่า บริเวณหาดป่าตอง เบื้องต้นพบแพลงก์ตอนพืชกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สกุล Trichodesmium erythraeum Ehrenberg ex Gomont ว่ามีปริมาณแพลงก์ตอนพืชสกุลนี้ปริมาณมากล่องลอยในมวลน้ำ จะดำเนินการติดตาม เฝ้าระวังการเกิดปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี และในส่วนปัจจัยอื่นๆ จะทำการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการต่อไป
พบน้ำทะเลเปลี่ยนสี พื้นที่ จ.ระยอง
พบสภาพน้ำมีสีน้ำตาล ขุ่น และมีกลิ่นเหม็น พบสัตว์น้ำตายเล็กน้อย บริเวณคลองน้ำหู อ.เมือง จ.ระยอง
14 กันยายน 2567