วันที่ 27 มิถุนายน 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยฝั่งตะวันออก ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมกรณีแจ้งพบคราบสีดำบนชายหาดอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด อ.เมือง จ.ระยอง เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 โดยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด นั้น จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่าสภาพน้ำทะเลมีตะกอนสีน้ำตาลเข้มในมวลน้ำ และมีคราบสีดำปนเขียวเกยบนชายหาด ขนานชายฝั่งประมาณ 80 เมตร มีกลิ่นเหม็น และไม่พบสัตว์น้ำตาย แล้วทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำทั่วไป จำนวน 4 สถานี (AP0-3) พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 4 เพื่อการนันทนาการ โดยมีค่าความเป็นกรดและด่าง 8.12-8.25 อุณหภูมิ 30.8-32.6 องศาเซลเซียส ความเค็ม 32.3-32.4 ส่วนในพันส่วน และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 5.99-7.42 มิลลิกรัมต่อลิตร และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ฯ ทราบว่าในช่วงเช้าของวันที่ 26 พบคราบดำขึ้นช่วงกลางหาด ประมาณ 100 เมตร ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบพบว่าสาเหตุจากการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืชกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิด Trichodesmium erythraeum ซึ่งแพลงก์ตอนพืชชนิดนี้ไม่สร้างสารชีวพิษ แต่อาจก่อให้เกิดอาการคันและระคายเคืองได้
พบแมงกะพรุนพิษ พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบแมงกะพรุนหัวขวด 40 ตัว พื้นที่หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต
1 กันยายน 2567