ตรวจสอบกรณีปัญหาความเดือดร้อนจากคลื่นน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช
  • 12 ก.ย. 2566
  • 161

วันที่ 11 กันยายน 2566 กรม ทช. โดย สำนักงาน ทช.ที่5 (สงขลา) ลงพื้นที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช นำโดยนายกิตติพงษ์ รองเดช นายอำเภอปากพนัง ร่วมกับ นางกนกพร เดชเดโช นายก อบจ.นครฯ พร้อมด้วยหน่วยงาน ได้แก่ สนง.เจ้าท่าภูมิภาค สนง.โยธาธิการและผังเมือง ศูนย์ดำรงธรรม และ สนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครศรีธรรมราช และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง เรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ กรณีปัญหาความเดือดร้อนจากคลื่นน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ หมู่ที่ 6 ต.ปากพนังฝั่งตะวันออก และพื้นที่ต่อเนื่องของ ต. แหลมตะลุมพุก และ หมู่ที่ 10 ต.ขนาบนาก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช โดยผู้ร้องได้มีหนังสือถึงศูนย์ดำรงธรรม จ.นครศรีธรรมราช แจ้งปัญหาความเดือดร้อนจากปัญหาคลื่นน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณ หมู่ที่ 6 ต.ปากพนังฝั่งตะวันออก และพื้นที่ต่อเนื่องของ ต. แหลมตะลุมพุก ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยทำกินของชาวบ้านได้รับผลกระทบจากคลื่นกัดเซาะชายฝั่งเป็นอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างหินทิ้งที่มีอยู่เดิมชำรุดพังเสียหาย จึงไม่สามารถป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งได้ ชาวบ้านจึงลงความเห็นว่าต้องการให้มีการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะทางรวม 8,000 ม. แต่ด้วยปัจจุบันได้มีกฎหมายเรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(ฉบับที่ 7) พ.ศ 2566 ลงวันที่ 18 เมษายน 2566 นั้น ซึ่งต้องใช้เวลาขั้นตอนการดำเนินการก่อสร้างประมาณ 5 ปี ส่งผลทำให้การก่อสร้างฯ ล่าช้ามากขึ้นกว่าเดิม ชาวบ้านมีความวิตกกังวลว่า ถ้าหากยืดเวลาการก่อสร้างฯ ออกไปก็จะทำให้เกิดความเสียหาย และเกิดการสูญเสียที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยไปอย่างถาวร  และร่วมประชุมหารือร่วมกันเพื่อหาแนวทาง มาตรการ ณ ห้องประชุมอบต.ปากพนังตะวันออก ทั้งนี้ สทช.5 ได้ให้ข้อมูลทางด้านวิชาการ ภาระกิจ อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ และแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

สถานการณ์สำคัญทางทะเลที่เกี่ยวข้อง