สำรวจสถานภาพแนวปะการัง พื้นที่ จ.ระยอง
  • 2 พ.ย. 2566
  • 488

วันที่ 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยฝั่งตะวันออก สำรวจสถานภาพแนวปะการัง โรคและอาการผิดปกติในปะการัง ตัวอ่อนปะการัง สัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ ปลา และปริมาณขยะตกค้างในแนวปะการัง ด้วยวิธี Line transect บริเวณเกาะมันกลาง หินญวน และเกาะขี้ปลา จ.ระยอง จำนวน 3 สถานี ผลการสำรวจเบื้องต้น พบว่าแนวปะการังอยู่ในสถานภาพเสียหายถึงสมบูรณ์ปานกลาง ปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังโขด (Porites spp.) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona spp.) อาการผิดปกติในปะการัง ได้แก่ เนื้อเยื่อเปลี่ยนสี (Pigmentation response) โรคเนื้องอกสีชมพู (Trematodiasis) ตายบางส่วนจากตะกอนปกคลุม และ Non Focal Bleaching วงศ์ปลาที่มีความชุกชุมมากที่สุด ได้แก่ วงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) วงศ์ปลาบู่ลูกดอก (Microdesmidae) และวงศ์ปลากล้วย (Caesionidae) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ที่ชนิดเด่นได้แก่ เม่นดำหนามยาว (Diadema setosum) หอยมือเสือ (Tridacna squamosa) และ ดาวหมอนปักเข็ม (Culcita novaeguineae) ส่วนขยะตกค้างในแนวปะการังส่วนมากเป็นเครื่องมือประมง เช่น อวนและเส้นเอ็น เป็นต้น

สถานการณ์สำคัญทางทะเลที่เกี่ยวข้อง