วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนบน ร่วมกับสำนักงาน ทช.ที่2 (ชลบุรี) ลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีได้รับแจ้งจากกลุ่มเครือข่ายชายฝั่ง เรื่องพบปลากดจำนวนมากลอยหัวบริเวณปากอ่าวบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 จึงได้ตรวจวัดปัจจัยคุณภาพน้ำทะเลพื้นฐาน และเก็บตัวอย่างน้ำทะเล จำนวน 2 จุด ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายประมงบางปะกง และ ท่าเรือท่าข้าม ผลการตรวจสอบไม่พบปลาตายและลอยหัว พบน้ำเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลแดงทั้ง 2 พื้นที่ และพบค่าออกซิเจนละลายน้ำต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพน้ำทะเลฯ 2564 ประเภทที่ 3 เพื่อการเพาะเลี้ยง (กรมควบคุมมลพิษ, 2564) ทั้ง 2 พื้นที่ ดังนี้
จุดที่ 1 ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายประมงบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เวลา 10:00 น. ช่วงน้ำลง ระดับผิวน้ำ มีอุณหภูมิน้ำ 30.6 °C pH 7.16 ความเค็ม 11.4 ppt DO 0.81 mg/l พบการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอม สกุล Chaetoceros spp. โดยชาวบ้านในพื้นที่แจ้งว่าพบว่าน้ำเปลี่ยนสีมาแล้ว 3 วัน
จุดที่ 2 ท่าเรือท่าข้าม จ.ฉะเชิงเทรา เวลา 11:30 น. ช่วงน้ำลง อุณหภูมิน้ำ 30.5 °C pH 7.03 ความเค็ม 13.2 ppt DO 0.88 mg/l
ทั้งนี้ทาง ศวทบ. จะดำเนินการรายงานผลการตรวจสอบไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และจะติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
พบแมงกะพรุนพิษ พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบแมงกะพรุนหัวขวด 40 ตัว พื้นที่หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต
1 กันยายน 2567