สำรวจปะการัง บริเวณหมู่เกาะคราม-หมู่เกาะสัตหีบ จ.ชลบุรี
  • 18 พ.ย. 2566
  • 487

วันที่ 14-17 พฤศจิกายน 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยฝั่งตะวันออก สำรวจระบบนิเวศแนวปะการัง บริเวณหมู่เกาะคราม-หมู่เกาะสัตหีบ จังหวัดชลบุรี  เบื้องต้นแนวปะการังอยู่ในสถานภาพสมบูรณ์ปานกลาง - สมบูรณ์ดีมาก ปะการังชนิดเด่นได้แก่  ปะการังโขด (Porites spp.) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona spp.) ปะการังช่องดาว (Astreopora spp.) ปะการังช่องหนาม (Echinopora spp.) สัตว์ในแนวปะการังที่พบชนิดเด่น เช่น เม่นดำหนามยาว (Diadema setosum) ปลาในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) และวงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae) ตัวอ่อนปะการังชนิดเด่น ได้แก่ ปะการังม้าลาย (Oulastrea crispata) และปะการังลายพัด  (Pseudosiderastrea tayamai) ปัจจัยรบกวนสุขภาพได้แก่ ตะกอน โรคปะการังสีเหลือง และเนื้อเยื่อปะการังเปลี่ยนสี (Pigmentation response) ขยะตกค้างในแนวปะการังที่พบส่วนใหญ่ คือ ขวดพลาสติก เชือก เอ็น เหยื่อตกปลา  โดยพบมากที่สุดที่เกาะครามน้อย

สถานการณ์สำคัญทางทะเลที่เกี่ยวข้อง