วันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยตอนบน ดำเนินการสำรวจประเมินสถานภาพแมงกะพรุนและแมงกะพรุนพิษ จำนวน 2 สถานี คือ สถานีชายหาดชะอำ อ.ชะอำ และสถานีหาดเจ้าสำราญ อ.เมือง จ.เพชรบุรี ด้วยเครื่องมืออวนลอยกุ้งสามชั้น และตักด้วยสวิง พร้อมเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนสัตว์ และตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น พบค่าความเค็มของน้ำทะเลเฉลี่ย 25.7 ppt ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำทะเลเฉลี่ย 8.46 ค่าปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำเฉลี่ย 5.13 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลการสำรวจพบแมงกะพรุนที่มีพิษ และแมงกะพรุนทั่วไป จำนวน 3 ชนิด ดังนี้
1. แมงกะพรุนพิษ พบจำนวน 1 ชนิด ได้แก่ วงศ์ Pelagiidae แมงกะพรุนไฟ สกุล Chrysaora พบบริเวณหาดเจ้าสำราญ อาการของผู้สัมผัสโดนแมงกะพรุนไฟทำให้บริเวณที่สัมผัสมีอาการปวดแสบปวดร้อน ห้ามถูหรือสัมผัสบริเวณแผลด้วยมือเปล่าเพราะยังอาจมีเข็มพิษติดค้างอยู่ ให้ใช้น้ำส้มสายชูราดบริเวณสัมผัสโดนแมงกะพรุน
2. แมงกะพรุนทั่วไป พบจำนวน 2 ชนิด ได้แก่ แมงกะพรุนกะลา วงศ์ Aequoreidae สกุล Zygocanna และ สกุล Aequorea
พบแมงกะพรุนพิษ พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบแมงกะพรุนหัวขวด 40 ตัว พื้นที่หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต
1 กันยายน 2567