วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนล่าง ได้รับแจ้งจาก นายฉัตระวี เดชะ เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภต.4 (เกาะเหลาเหลียงเหนือ) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล เรื่องพบซากพะยูนลอยกลางทะเล บริเวณระหว่างเกาะเหลาเหลียง-ลิบง จ.ตรัง เจ้าหน้าที่ ศวอล. จึงได้ประสานเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราและเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงในการช่วยขนย้ายซากพะยูนจากบริเวณดังกล่าวมายังท่าเรือหาดยาว จ.ตรัง เพื่อนำส่งซากให้กับเจ้าหน้าที่ ศวอล.มาชันสูตรที่ศูนย์วิจัยฯ จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าเป็นซากพะยูน ( _Dugong dugon_ ) เพศผู้ โตเต็มวัย ความยาววัดแนบ 273 ซม. สภาพซากเน่า ความสมบูรณ์ของร่างกายดี (BCS=3/5) ลักษณะภายนอกพบบาดแผลจากรอยเขี้ยวของพะยูนบริเวณหลังซึ่งเกิดจากพฤติกรรมฝูง มีเพรียงเกาะบริเวณลำตัวจำนวนมาก คาดว่าสัตว์อยู่นิ่งเป็นระยะเวลานาน ไม่พบบาดแผลฉกรรจ์หรือบาดแผลจากเครื่องมือประมง เมื่อเปิดผ่าดูอวัยวะภายในพบว่าอวัยวะภายในส่วนใหญ่เน่าสลายไม่สามารถระบุรอยโรคได้ ส่วนของทางเดินอาหารพบอาหารจำพวกเศษหญ้าทะเลเล็กน้อยในกระเพาะอาหาร คาดว่าสัตว์ไม่ได้กินอาหารมาเป็นระยะเวลานาน และพบพยาธิตัวกลมจำนวนมากในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ไม่พบสิ่งแปลกปลอมในทางเดินอาหาร สรุปสาเหตุการตายคาดว่าป่วยตามธรรมชาติ เนื่องจากพบเพรียงเกาะตามลำตัวและพบอาหารเล็กน้อยในทางเดินอาหาร ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้ทำการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป
พบเต่าทะเลเกยตื้น พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบเต่าตนุเกยตื้น บริเวณหน้าหาดโรงแรมอังสนา ลากูน่า ภูเก็ต ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
7 กันยายน 2567