วันที่ 9 ธันวาคม 2566 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัยฯ อันดามันตอนล่าง ชันสูตรซากฉลามวาฬเกยตื้น ซึ่งได้รับแจ้งจากนายศิริวัฒน์ สืบสาย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี จังหวัดกระบี่ เรื่องชาวประมงพบซากฉลามวาฬลอยในทะเลบริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะปาหูเซีย ต.หนองทะเล อ.เมือง จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ ทช. ได้ประสานกับ จนท. อช. ธารโบขรณีในการนำซากมายังเกาะห้องเพื่อทำการตรวจสอบและชันสูตร เบื้องต้นพบว่าเป็นซากฉลามวาฬ ( _ Rhincodon typus _ ) เพศเมีย ความยาวลำตัววัดตรง 735 ซม. ขนาดโตเต็มวัย สภาพซากเริ่มเน่า ความสมบูรณ์ของร่างกายสมบูรณ์ดี (Body condition score, BCS = 3/5) ลักษณะภายนอกพบบาดแผลฉกรรจ์บริเวณส่วนหัวด้านขวาจนถึงซี่เหงือกคู่ที่ 5 ด้านซ้าย ขอบแผลเป็นรอยตัดจากของมีคม จำนวน 12 รอย คาดว่าเกิดจากใบพัดเรือขนาดใหญ่ กระดูกส่วนหัวแตกหัก เมื่อทำการเปิดผ่าดูอวัยวะภายในพบว่าอวัยวะภายในส่วนใหญ่เน่าไม่สามารถระบุรอยโรคได้ชัดเจน ส่วนของทางเดินอาหารพบอาหารอัดแน่นภายในกระเพาะอาหาร และพบเศษถุงพลาสติกสีดำ ขนาด 40 ซม. ภายในกระเพาะอาหาร สรุปสาเหตุการตายคาดว่าถูกใบพัดเรือฟัน ทำให้สัตว์เสียชีวิตทันที ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและจัดการซากฝังกลบในพื้นที่ต่อไป
พบเต่าตนุเกยตื้น พื้นที่ จ.ภูเก็ต
พบลูกเต่าตนุเกยตื้นมีชีวิต บริเวณหาดกมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต
21 กันยายน 2567